รถรางเพื่อการท่องเที่ยว

การเที่ยวชมเมืองพิษณุโลกโดยใช้บริการด้วยรถราง เป็นการการขนส่งมวลชนประเภทหนึ่งที่ใช้บริการในการท่องเที่ยวและนักท่องเที่ยวส่วนมากให้ความสนใจกันมากและอีกนัยหนึ่งชึ่ง"รถราง"เป็นประโยชน์กับพวกนักเรียนนักศึกษามากที่บริการรถรางมีส่วนช่วยให้นักเรียนนักศึกษารู้จักเมืองพิษณุโลกเรียนรู้ประวัติศาสตร์เมืองพิษณุโลกด้วย

 รถรางจังหวัดพิษณุโลก
เส้นทาง  เริ่มต้นที่ วัดใหญ่-สวนชมน่าน-พิพิธภัณฑ์ชาวแพ-สถานีรถไฟ-หอนาฬิกา-พระบรมราชานุสาวรีย์เจ้าพระยาจักรี-สะพานเอกาทศรถ-ตะแลงแกง-คูเมือง-ร.ร. จ่านกร้อง-ศาลากลางจังหวัด-วัดวิหารทอง-ศาลสมเด็จพระนเรศวร(พระราชวังจันทน์)-ศาลหลักเมือง-วัดใหญ่
ตั้งแต่เวลา 09.00 น. – 15.00 น.


 อัตราค่าโดยสาร ด็ก,นักเรียน 10 บาท, ผู้ใหญ่ 20 บาท
(เส้นทางและ อัตราค่าโดยสารอาจมีการแก้ไขเปลี่ยนแปลงได้ตามความเหมาะสม)

แบบสอบถาม
โดยสอบถามคนใช้บริการรถราง 100คน
ส่วนในทางขนส่งมวลชนเราต้องการรู้
- เวลาการเดินรถ  เพื่อใช้ในการวิเคราห์ ช่วงเวลาการเดินรถ
- การปฏิบัติตามกฎจราจร เพื่อใช้วิเคราะห์ ความปลอดภัยในการขับขี่
- เส้นทางการเดินรถ เพื่อใช้วิเคราะห์ การประหยัดพลังงาน
จึงได้ทำแบบสอบถามขึ้น
ผลที่ได้จากแบบสอบถาม


จากแบบสอบถามจะได้ว่า  การขนส่งมวลชนของรถรางนั้นได้มีการวางระบบการขนส่งมวลชนได้ดีมากดูจาก
1.  ช่วงเวลาการเดินรถ  การเดินรถของรถรางในจังหวัดพิษณุโลกนั้นเริ่มตั้งแต่เวลา 09.00 น. – 15.00 น. คือช่วงเวลาที่รถในตัวเมืองพิษณุโลกน้อย (ในเมืองรถจะมากช่วง เช้า กับ เย็น) แสดงว่ารถรางวางระบบขนส่งมวลชนได้ดี
2.   ปฏิบัติตามกฎจราจร ผู้ขับขี่รถรางได้ปฏิบัติตามกฎจราจรอย่างเคร่งครัด ขับช้าๆ ชมบรรยากาศ การปฏิบัติตามกฎจราจรอย่างเคร่งครัดนั้นช่วยให้ลดอุบัติเหตุในท้องถนนได้
3.  เส้นทางการเดินรถ เส้นทางในการเดินรถของรถรางในจังหวัดพิษณุโลกนั้นเป็นเส้นทางที่ใช้ในการท่องเที่ยวคือเที่ยวได้หลายสถานที่โดยที่ใช้ระยะทางน้อยแสดงว่าการวางแผนการเดินทางของรถรางดีมาก

                                                         สรุปข้อดี-ข้อเสีย

ข้อดี                                                                                       ข้อเสีย
1. เป็นการสร้างความรู้ให้ประชาชน                                1. อาจจะมีขีดจำกัดในสถานที่ท่องเที่ยว
2. แนะนำสถานที่ท่องเที่ยวต่างๆในจังหวัด                     2. ความร้อนอาจทำให้เกิดความเบื่อหน่าย
3. เป็นสื่อการเรียนการสอน                                              
4. สร้างรายได้ให้กับ ชุมชน

วันนี้คุณพอใจกับงานนี้ระดับไหน