มารยาทในการใช้บริการรถประจำทาง

  การขนส่งมวลชนทางรถปรจะทางนั้นเป็นที่นิยมมากอันเนื่องมาจากเป็นการขนส่งแบบเข้าถึง จึงมีการนิยมใช้บริการขนส่งมวลชนทางรถประจำทางมากจึงทำให้การจัดระเบียบลำบากผู้ใช้บริการควรมีมารยาทในการใช้บริการคือ

1.  ควรให้ความร่วมมือโดยปฏิบัติตามระเบียบและความเหมาะสมในการโดยสารรถประจำทาง เช่น 
- ขึ้นลงด้วยลำดับอย่างมีระเบียบ ไม่เบียดเสียดยื้อแย่งกัน ก่อนขึ้นควรคอยให้คนลงหมดเสียก่อน
-ขึ้นหรือลงตามป้าย ไม่ควรกระโดดขึ้นหรือลงในขณะที่รถกำลังแล่นหรือขณะรถหยุดตามสัญญาณไฟแดง
- ไม่ยื่นมือหรือศีรษะออกนอกรถ ไม่ยืนเกาะหรือโหนที่บันไดรถ เพราะอาจจะได้รับอันตราย
การเอื้อเฟื้อให้แก่

2. ควรเตรียมเงินไว้ให้พร้อมสำหรับจ่ายค่าโดยสาร และเมื่อได้ตั๋วแล้วควรเก็บรักษาตั๋วไว้ให้พนักงานตรวจตั๋วดูโดยสะดวกด้วย
3. ถ้าในรถมีที่ว่างควรเข้าไปนั่งหรือยืนเสียงข้างใน อย่ายืนออกันที่ประตู เป็นที่กีดขวางของผู้โดยสารอื่นที่จะขึ้นลงและทำให้ชักช้าเสียเวลา
4. ควรเอื้อเฟื้อให้ที่นั่งแก่พระภิกษุ สามเณร แม่ชี เด็ก สตรี คนชรา และคนพิการ ความเอื้อเฟื้อดังกล่าวอาจนำไปใช้ในการขึ้นลงรถประจำทางได้ด้วย
5. เมื่อได้รับความเอื้อเฟื้อควรกล่าวขอบคุณ และเมื่อพลาดพลั้งกระทบผู้อื่นควรกล่าวขออภัย 
5. พึงใช้กิริยาวาจาสุภาพต่อพนักงานประจำรถและผู้โดยสารอื่นๆ 

   

      คลิปการบอกมารยาทในการใช้รถ

6. พึงงดเว้นการกระทำที่ไม่เหมาะสม เช่น แสดงอาการใกล้ชิดเกินควรระหว่างชาย หญิง
7. พึงงดการกระทำใดๆ อันไม่ชอบธรรม ในการขึ้นรถ เช่น ไม่ชำระค่าโดยสาร
8. ไม่ควรทำความเดือดร้อนรำคาญแก่ผู้อื่น เช่น สูบบุหรี่ ทะเลาะวิวาทหรือคุยเสียงดัง นั่งเขย่าขา นั่งกินที่ผู้อื่น นั่งเอนไปพิงหรือกระทงผู้อื่น วางสิ่งของในที่ว่างกีดกันผู้อื่น ปล่อยผมยาวให้ปลิวไปรบกวนผู้อื่น หรือชะโงกไปอ่านข้อความในหนังสือที่ผู้อื่นกำลังอ่านอยู่

9. ไม่ขากเสมหะหรือบ้วนน้ำลาย ไม่ทิ้งขยะลงบนรถหรือนอกรถ ซึ่งทำให้สกปรกเป็นอันตรายต่อสุขภาพอนามัยและเสียมารยาท
10. ไม่พกพาอาวุธและสิ่งที่อาจเป็นอันตรายแก่ผู้อื่น
11. ไม่ควรเสพสุราหรือสิ่งมึนเมาในขณะที่อยู่บนรถประจำทาง
12. ไม่ควรขีดเขียนข้อความใดๆ ที่พนักหรืออื่นๆ ในรถประจำทาง
14. ไม่ควรนำสิ่งของที่มีกลิ่นแรงขึ้นรถประจำทาง
13. ไม่ควรประดับของมีค่าในการในการโดยสารรถประจำทาง เพราะอาจไม่ปลอดภัย
14. ไม่ควรรับประทานอาหาร เครื่องดื่ม หรือยาต่างๆ จากคนแปลกหน้า
15. ไม่ควรเล่นการพนันบนรถประจำทาง


สิทธิของผู้ใช้บริการรถโดยสารสาธารณะ 
1. ผู้โดยสารมีสิทธิร้องเรียนหรือฟ้องร้องเพื่อให้ผู้ให้บริการหรือหน่วยงานที่เกี่ยวข้องดำเนินการแก้ไขปัญหา เยียวยา หรือชดใช้ความเสียหายที่เกิดขึ้น
2.ผู้โดยสารมีสิทธิที่จะได้รับการชดใช้ความเสียหายจากการประกันภัยโดยไม่มีการประวิงเวลา หรือบังคับให้ประนีประนอมยอมความ
3.ผู้โดยสารมีสิทธิที่จะได้รับการชดใช้ความเสียหายทั้งทางร่างกาย อนามัย เสรีภาพ ทรัพย์สิน และสิทธิอื่น ๆ ที่ถูกละเมิด
4.ผู้โดยสารมีสิทธิที่จะได้รับการชดใช้ความเสียหายด้วยหลักแห่งพฤติการณ์และความร้ายแรงแห่งละเมิด
5.ผู้โดยสารมีสิทธิที่จะรวมตัวกันเพื่อพิทักษ์สิทธิของตนและของผู้อื่น
6.ผู้โดยสารมีสิทธิที่จะได้รับความปลอดภัยจากการใช้บริการรถโดยสาร
7.ผู้โดยสารมีสิทธิที่จะได้รับการบริการจากรถโดยสารและผู้ให้บริการที่มีคุณภาพมาตรฐาน
8.ผู้โดยสารมีสิทธิที่จะได้รับข้อมูลข่าวสารรวมทั้งคำพรรณนาคุณภาพเกี่ยวกับบริการรถโดยสาร รวมทั้งความคุ้มครองตามกรมธรรม์ประกันภัย ที่ถูกต้องเป็นจริง ครบถ้วน เพียงพอต่อการตัดสินใจใช้บริการ
9.ผู้โดยสารมีสิทธิที่จะได้รับความเป็นธรรมในด้านสัญญา และราคาค่าบริการ
10.ผู้โดยสารมีอิสระในการเลือกใช้บริการรถโดยสารด้วยความสมัครใจ และปราศจากการชักจูงใจอันไม่เป็นธรรม
“สิ่งสำคัญเพื่อให้การร้องเรียนได้ผล คือ ต้องรู้ว่าเหตุเกิดที่ไหน รู้ว่าเกิดเมื่อไหร่ รู้ว่าเกิดอย่างไร รู้ว่าใครเป็นต้นเหตุ และ รู้ถึงช่องทางการร้องเรียน” 
หน่วยงานรับเรื่องร้องเรียนและให้ความช่วยเหลือทางด้านกฎหมาย
หน่วยงาน
เบอร์โทรศัพท์
การบริการให้ความช่วยเหลือ
ศูนย์คุ้มครองผู้โดยสารรถสาธารณะ
1584
รับร้องเรียนหรือรับแจ้งข้อมูลในเรื่องการบริการรถขนส่งสาธารณะ
ศูนย์รับร้องเรียนขนส่งมวลชนกรุงเทพฯ
184
แจ้งร้องทุกข์เกี่ยวกับรถโดยสารของ บขส. และรถร่วม
1508
ตำรวจทางหลวง
1193
มูลนิธิเพื่อผู้บริโค
02-2483733 -37
รับร้องเรียน ให้คำปรึกษาทางด้านกฎหมาย และช่วยเหลือด้านคดีของผู้บริโภค
สภาทนายความ
02-629-1430
รับร้องรียน ให้คำปรึกษาทางด้านกฎหมาย และช่วยเหลือด้านคดีผู้บริโภคและคดีความทั่วไป
สำนักงานคณะกรรมการกำกับและส่งเสริมการประกอบธุรกิจประกันภัย
1186
รับร้องรียน ให้คำปรึกษา ด้านการประกันภัย
สำนักงานคณะกรรมการคุ้มครองผู้บริโภค
1166
รับร้องเรียน ให้คำปรึกษา ปัญหาผู้บริโภค
แบบสอบถามการใช้บริการรถประจำทาง 
โดย พิจารณาจาก
1.เวลาในการเดินรถ
2.ปฏิบัติตามกฎจราจร
3.เส้นทางการเดินรถ
จากข้อมูล100ข้อมูล


จากแบบสอบถามพบว่า 

1. เวลาในการเดินรถของรถประจำทางเป็นที่น่าพอใจกับผู้ใช้บริการแสดงว่าการขนส่งมวลชนของรถประจำทางนั้นได้จัดระบบขนส่งที่ดี
2.การปฏิบัติตามกฎจราจรของผู้ขับขี่ได้ปฏิบัติตามกฎจราจรได้ดีมากทำให้ช่วยลดอุบัติเหตุในการขนส่งมวลชนได้และปลอดภัย
3.เส้นทางการเดินรถ ของรถประจำทางนั้นเป็นเส้นทางที่ว่าต้องการเข้าถึงมวลชนจึงต้องวิ้งอ้อมเพื่อหาผู้ใช้บริการ(เช่น เข้า จอดทุกขนส่ง)




ข้อดี-ข้อเสีย ของการใช้รถประจำทาง

ข้อดี
1. ประหยัดค่าใช้จ่ายในการเดินทาง
2. ลดมลพิษในอากาศและพลังงาน
3. ถึงที่หมายด้วยความปลอดภัย
4. ลดความเหนื่อยล้าในการเดินทาง

ข้อเสีย
1. ถ้าใช้รถประจำทางอย่างไร้มารยาทจะทำให้เกิดความน่ารำคาร
2. มีผู้คนที่แปลกหน้าและไม่รู้นิสัยเดินทางไปด้วย
3. ช้า และ ยาก ในการกำหนดเวลาในการเดินทาง
4. อาจไม่สะดวกและไม่สบายกายและใจ

วันนี้คุณพอใจกับงานนี้ระดับไหน